แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน
แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน

แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน

แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน (อังกฤษ: AeroVironment RQ-11 Raven) เป็นอากาศยานไร้คนขับทางไกลที่ควบคุมด้วยมือ (หรืออากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก)[3] ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับกองทัพสหรัฐ แต่ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้โดยกองกำลังทหารของประเทศอื่น ๆ อีกมากอาร์คิว-11 เรฟเวน ได้รับการนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะเอฟคิวเอ็ม-151 ในปี ค.ศ. 1999 แต่ในปี ค.ศ. 2002 ได้รับการพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบัน[4] คล้ายกับเครื่องบินโมเดลฟรีไฟลต์ รุ่นเอฟ1ซี ของสหพันธ์กีฬาทางอากาศโลกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อากาศยานชนิดนี้ได้รับการปล่อยตัวด้วยมือและขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในรูปแบบของการผลัก เครื่องบินสามารถบินได้สูงถึง 6.2 ไมล์ (10.0 กม.) ที่ระดับความสูงอย่างคร่าว ๆ 500 ฟุต (150 ม.) เหนือระดับพื้นดิน (AGL) และมากกว่า 15,000 ฟุต (4,600 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่ความเร็วการบินที่ 28–60 ไมล์ต่อชั่วโมง (45–97 กม./ชม.)[5] ทั้งนี้ กองทัพบกสหรัฐใช้เรฟเวนในระดับกองร้อย[6]

แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน

ผู้ผลิต แอโรไวรอนเมนต์
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
173,000 ดอลลาร์ต่อระบบ (รวม 4 อากาศยานไร้คนขับ, 2 สถานีควบคุมภาคพื้นดิน และชิ้นส่วนอะไหล่)[2]
เที่ยวบินแรก ตุลาคม ค.ศ. 2001
สถานะ ประจำการ
ผู้ใช้หลัก กองทัพบกสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐ, เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ, กองทัพบกสหรัฐ, กองกำลังทางบกทั่วโลก
หน้าที่ อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล[1]
พัฒนาจาก เอฟคิวเอ็ม-151 พอยเตอร์
เริ่มใช้ พฤษภาคม ค.ศ. 2003
จำนวนที่ถูกผลิต มากกว่า 19,000 ลำ
การผลิต ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน http://landforce.mod.bg/Pokaz-na-novo-oborudvane-v... http://www.airforcetimes.com/article/20090509/NEWS... http://www.army-technology.com/projects/rq11-raven... http://www.avinc.com http://www.avinc.com/downloads/AV_RAVEN-DOM_V10109... http://www.Codaltec.com http://www.defensenews.com/article/20140513/DEFREG... http://defensesystems.com/Articles/2015/07/01/Mari... http://www.defpro.com/news/details/6811/ http://dmilt.com/asia/uzbekistan-army-receives-rq-...